เมนู

สฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ
ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนั้น ญายธรรมที่เป็นอริยะนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นแจ้งแทง
ตลอดด้วยปัญญา.
ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกระงับภัยเวร 5 ประการนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เครื่องบทลุกระแสนิพพาน 4 ประการนี้ และเป็น
ผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมที่เป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นเมื่อหวัง
อยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้น
แล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระ-
โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้า.
จบเวรสูตรที่ 2

อรรถกถาเวรสูตรที่ 2


เวรสูตรที่ 2

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภยานิ ได้แก่ ภัยคือความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า เวรานิ
ได้แก่ อกุศลเวรและบุคคลเวร. บทว่า อริโย จสฺส ญาโย ได้แก่ มรรค
พร้อมกับวิปัสสนา. บทว่า อิติ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ ความว่า เมื่อเหตุ
มีอวิชชาเป็นต้นนี้ มีอยู่อย่างนั้น ผลมีสังขารเป็นต้นจึงมี. บทว่า อิมสฺสุปฺ-
ปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
ความว่า สหชาตปัจจัยอันใดมีอยู่ เพราะความ
เกิดขึ้นแห่งสหชาตปัจจัยนั้น ผลนอกนี้ ชื่อว่าย่อมเกิด. บทว่า อิมสฺมึ
อสฺสติ
ความว่า เมื่อเหตุมีอวิชชาเป็นต้นไม่มี ผลมีสังขารเป็นต้นต้นก็ไม่มี.

บทว่า อิมสฺส นิโรธา ความว่า เพราะความไม่เป็นไปแห่งเหตุ ความ
ไม่เป็นไปแห่งผลก็มี.
จบอรรถกถาเวรสูตรที่ 2

3. ทิฏฐิสูตร


ว้าด้วยอนาถบิณฑิกเศรษฐีบอกทิฏฐิของตนแก่อัญญเดียรถีย์


[93] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระนครสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้า
พระผู้พระภาคเจ้า ลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อ
จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหลีกเร้น
อยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญ เพราะพวกภิกษุ
ผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นแล เราพึงเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี จึง
เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึง
ดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง
อย่าได้เปล่งเสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม
กำลังเดินมา อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง ในบรรดาคฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็นสาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนคร
สาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา